ทฤษฎีกระบวนการกลุ่ม (Group Process)

ทฤษฎีกระบวนการกลุ่ม (Group Process)

กระบวนการกลุ่มเป็นวิทยาการที่ศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มคนเพื่อนำความรู้ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนเจตคติและพฤติกรรมของคน ซึ่งจะนำไปสู่การเสริมสร้างความสัมพันธ์และการพัฒนาการทำงานของกลุ่มคนให้มีประสิทธิภาพ

จุดเริ่มต้นของค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ การศึกษากลุ่มคนด้านพลังกลุ่มและผู้ที่ได้เชื่อว่าเป็นบิดา ของกระบวนการกลุ่มก็คือ เคริร์ท  เลวิน (Kurt  Lewin) นักจิตวิทยาสังคมและนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ 1920 เป็นต้นมา และได้มีผู้นำหลักการของพลังกลุ่มไปใช้ในการพัฒนาพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม การพัฒนาบุคลิกภาพและจุดประสงค์อื่น ๆ วงการ รวมทั้งในวงการศึกษา

1.หลักการและแนวคิดทฤษฎีกระบวนการกลุ่ม

แนวคิดพื้นฐานของกระบวนการกลุ่มก็คือ แนวคิดในทฤษฎีภาคสนาน ของเคิร์ท  เลวิน ที่กล่าวโดยสรุปไว้ดังนี้

  1. พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่ม
  2. โครงสร้างของกลุ่มจะเกิดจากการร่วมกลุ่มของบุคคลที่มีลักษณะแตกต่างกัน และจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสมาชิกกลุ่ม
  3. การรวมกลุ่มจะเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มในด้านการกระทำ ความรู้สึก และความคิด
  4. สมาชิกกลุ่มจะมีการปรับตัวเข้าหากันและจะพยายามช่วยกันทำงานโดยอาศัยความสามารถของแต่ละบุคคลซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานลุล่วงไปได้ตามเป้าหมายของกลุ่ม

2.หลักการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่ม ที่สำคัญมีดังนี้

1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย การเรียนรู้ที่เกิดจากการบรรยายเพียงอย่างเดียวไม่พอที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาพฤติกรรม แต่การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาพฤติกรรมผู้เรียนโดยกระบวนการกลุ่มจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ศักยภาพของแต่ละคนทั้งในด้านความคิด การกระทำและความรู้สึกมาแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

2. การเรียนรู้ควรจะเป็นกระบวนการกลุ่มที่สร้างสรรค์บรรยากาศการทำงานการทำงานกลุ่มที่ให้ผู้เรียนมีอิสระในการแสดงความรู้สึกนึกคิด มีบทบาทในการรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนโดยมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนจะช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีชีวิตชีวาและช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียน

3.การเรียนรู้ควรเป็นระบวนการที่ผู้เรียนค้นพบด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยการกระทำกิจกรรมด้วยตนเองจะช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้เนื้อหาวิชาหรือสาระจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรม ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความใจอย่างลึกซึ้ง จดจำได้ดี อันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนเจตคติและพฤติกรรมของตนได้รวมทั้งสามารถนำไปสู่การนำไปพัฒนาบุคลิกภาพทุกด้านของผู้เรียน

4. การเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ กระบวนการเยนรู้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ที่เป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตทุกด้าน ดังนั้นถ้าผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีระและมีขั้นตอนจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้หรือตอบคำถามการรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. หลักการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม

การเรียนแบบกระบวนการกลุ่ม คือ ประสบการณ์ทางการเรียนรู้ที่นักเรียนได้รับจากการลงมือร่วมปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม กลุ่มจะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของแต่ละคนแต่ละคนในกลุ่มมีอิทธิพลและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน หลักการสอนโดยวิธีกระบวนการกลุ่ม มีหลักการเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน สรุปได้ดังนี้ ( คณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักงาน 2540 )

1.เป็นการเรียนการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนโดยให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมมากที่สุด

2.เป็นการเรียนการสอน ที่เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้จากกลุ่มให้มากที่สุด กลุ่มจะเป็นแหล่งความรู้สำคัญที่จะฝึกให้ผู้เกิดความรู้ความใจ และสามารถปรับตัวและเข้ากับผู้อื่นได้

3.เป็นการสอนที่ยึดหลักการค้นพบและสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตัวเองของนักเรียนเอง โดยครูเป็นผู้จัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพยายามค้นหา และพบคำตอบด้วยตนเอง

4.เป็นการสอนที่ให้ความสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ ว่าเป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ และคำตอบต่าง ๆ ครูจะต้องให้ความสำคัญของกระบวนการต่าง ๆ ในการแสวงหาคำตอบ

4. รูปแบบและขั้นตอนการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม

รูปแบบการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม รูปแบบการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม (คณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักงาน 2540 ) มีขั้นตอนดังนี้

1.ตั้งจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน ทั้งจุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม

2.การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนลงมือประกอบกิจกรรมด้วยตนเองและมีการเพื่อทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้มีประสบการณ์ในการทำงานกลุ่ม ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

2.1. ขั้นนำ เป็นการสร้างบรรยากาศและสมาธิของผู้เรียนให้มีความพร้อมในการเรียนการสอน การจัดสถานที่ การแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย แนะนำวิธีดำเนินการสอน กติกาหรือกฎเกณฑ์การทำงาน ระยะเวลาการทำงาน

2.2. ขั้นสอน เป็นขั้นที่ครูลงมือสอนโดยให้นักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อให้เกิดประสบการณ์ตรง โดยที่กิจกรรมต่าง ๆ จะต้องคัดเลือกให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องในบทเรียน เช่นกิจกรรม เกมและเพลง บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง การอภิปรายกลุ่ม เป็นต้น

2.3. ขั้นวิเคราะห์ เมื่อดำเนินการจัดประสบการณ์เรียนรู้แล้ว จะให้นักเรียนวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง ๆ ความสัมพันธ์กันในกลุ่ม ตลอดจนความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน โดยวิเคราะห์ประสบการณ์ที่ได้รับจาการทำงานกลุ่มให้คนอื่นได้รับรู้ เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนรู้ของกันแนะกัน ขั้นวิเคราะห์จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น และมองเห็นปัญหาและวิธีการทำงานที่เหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการทำงาน เป็นการถ่ายโอนประสบการณ์การเรียนที่ดี จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถค้นแนวคิดที่ต้องการด้วยตนเอง เป็นการขยายประสบการณ์การเรียนรู้ให้ถูกต้องเหมาะสม

2.4. ขั้นสรุปและนำหลักการไปประยุกต์ใช้ นักเรียนสรุป รวบรวมความคิดให้เป็นหมวดหมู่ โดยครูกระตุ้นให้แนวทางและหาข้อสรุป จากนั้นนำข้อสรุปที่ค้นพบจากเนื้อหาวิชาที่เรียนไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับตนเองและนำหลักการที่ได้ไปใช้เพื่อการปรับปรุงตนเอง ประยุกต์ใช้ให้เข้ากับคนอื่นประยุกต์เพื่อแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และดำรงชีวิตประจำวันเช่น การปรับปรุงบุคลิกภาพ เกิดความเห็นอกเห็นใจ เคารพสิทธิของผู้อื่น แก้ปัญหา ประดิษฐ์สิ่งใหม่ เป็นต้น

2.5. ขั้นประเมินผล เป็นการประเมินผลว่า ผู้เรียนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายมากน้อยเพียงใด โดยจะประเมินทั้งด้านเนื้อหาวิชาและด้านกลุ่มมนุษยสัมพันธ์ ได้แก่ ประเมินด้านมนุษย์สัมพันธ์ ผลสัมฤทธิ์ของกลุ่ม เช่น ผลการทำงาน ความสามัคคี คุณธรรมหรือค่านิยมของกลุ่ม ประเมินความสัมพันธ์ในกลุ่ม จากการให้สมาชิกติชมหรือวิจารณ์แก่กันโดยปราศจากอคติ จะทำให้ผู้เรียนสามารถประเมินตนเองได้และจะทำผู้สอนเข้าใจนักเรียนได้ อันจะทำให้ผู้เรียนผู้สอนเข้าใจปัญหาซึ่งกันและกันอันจะเป็นหนทางในการนำไปพิจารณาแก้ปัญหาและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่นักเรียน

5. ขนาดของกลุ่มและการแบ่งกลุ่ม

การแบ่งกลุ่มเพื่อให้นักเรียนปฏิบัติงานร่วมกันนั้น ผู้สอนอาจจะแบ่งกลุ่มโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์การจัดการเรียนการสอน (คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สำนักงาน 2534 : 230) เช่น

1. แบ่งกลุ่มตามเพศ ใช้ในกรณีครุมีวัตถุประสงค์ที่ชี้เฉพาะลงไป เช่น ต้องการสำรวจความระหว่างเพศหญิงและชาย ในด้านต่าง ๆ เช่น ทัศนคติ ค่านิยม ฯลฯ

2. แบ่งตามความสามารถ ใช้ในกรณีที่ครูมีภาระงานมอบหมายให้แต่ละกลุ่มแตกต่างไปตามความสามรถ หรือต้องการศึกษาความแตกต่างในการทำงานระหว่างกลุ่มที่มีความสามารถสูงและต่ำ

3. แบ่งตามความถนัด โดยแบ่งกลุ่มที่มีความถนัดเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกัน

4. แบ่งกลุ่มตามความสมัครใจ โดยให้สมาชิกเลือกเข้ากลุ่มดับคนที่ตนเองพอใจ ซึ่งครูทำได้แต่ไม่ควรใช้บ่อยนักเพราะจะทำให้นักเรียนขาดประสบการณ์ในการทำงานกับบุคคลที่หลายหลาย

5. แบ่งกลุ่มแบบเจาะจง ครูเจาะจงให้เด็กบางคนอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เช่น ให้เด็กเรียนเก่งกับเด็กที่เรียนอ่อนเพื่อให้เด็กเรียนเก่งช่วยเด็กที่เรียนอ่อน หรือให้เด็กปรับตัวเข้าหากัน

6. แบ่งกลุ่มโดยการสุ่ม ไม่เป็นการเจาะจงว่าให้ใครอยู่ใครกับใคร

7. แบ่งกลุ่มตามประสบการณ์ คือ การรวมกลุ่มโดยโดยพิจารณาเด็กที่มีประสบการณ์คล้ายคลึงกันมาอยู่ด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการช่วยกันวิเคราะห์หรือแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งโดยเฉพาะ

7. วิธีการสอนที่สอดคล้องับหลักการการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม

1. การระดมความคิด เป็นการรวมกลุ่มที่ประกอบด้วยสมาชิก 4 -5 คน และให้ทุกคนแสวงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง เพื่อรวบรวมความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ได้หลายแง่มุม ทุกความคิดได้รับการยอมรับโดยไม่มีการโต้แย้งกน แล้วนำความคิดทั้งมวลมาผสานกัน

2. ผู้สอนสร้างสถานการณ์สมมติขึ้นโดยให้ผู้เรียนตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีการสรุปผลในลักษณะของการแพ้การชนะ วิธีการนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์ความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมต่าง ๆ วิธีการสอนนี้จะช่วยให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนและเกิดความสนุกสนาน

3. บทบาทสมมติ เป็นวิธีการสอนที่มีการกำหนดบทบาทของผู้เรียนในสถานการณ์ที่สมมติขึ้นมาโดยให้ผู้เรียนสวมบทบาทและแสดงออกโดยใช้บุคลิกภาพประสบการณ์และความรู้สึกนึกคิดของตนเป็นหลัก วิธีการสอนนี้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาวิเคราะห์ความรู้สึกและพฤติกรรมของตนอย่างลึกซึ้ง ทั้งยังช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา

4. สถานการณ์จำลอง เป็นวิธีกาสอนโดยการจำลองสถานการณ์จริงหรือสร้างสถานการณ์ให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงแล้วให้ผู้เรียนอยู่ในสถานการณ์นั้นพร้อมทั้งแสดงพฤติกรรมเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่กำหนดให้ วิธีนี้จะช่วยให้ผู้เรียนฝึกทักษะการแสดงพฤตอกรรมต่าง ๆ ซึ่งในสถานการณ์จริงผู้เรียนอาจจะไม่กล้าแสดงออก

5. กรณีตัวอย่าง เป็นวิธีการสอนที่ใช้การสอนเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขั้นจริง แต่นำมาดัดแปลงเพื่อให้ผู้เรียนใช้เป็นแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์และอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันอันจะนำไปสู่การสร้างความเข้าใจและฝึกทักษะการแก้ปัญหา การรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันซึ่งจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายสำหรับผู้เรียนยิ่งขึ้น

6. การแสดงละคร เป็นวิธีการสอนที่ให้ผู้เรียนแสดงบทบาทตามบทที่มีผู้เขียนหรือกำหนดไว้ให้ โดยผู้แสดงจะต้องแสดงบทบาทตามที่กำหนดโดยไม่นำเอาบุคลิกภาพและความรู้สึกนึกคิดเข้ามาใส่ในการแสดงบทบาทนั้น ๆ วิธีนี้จะช่วยให้มีประสบการณ์ในการรับรู้เหตุผล ความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของผู้อื่นซึ่งจะช่วยฝึกทักษะการทำงานร่วมกันและรับผิดชอบร่วมกัน

7. เป็นวิธีการสอนโดยการจัดผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อยที่มีสมาชิกประมาณ 6 -12 คน และมีกากำหนดให้มีผู้นำกลุ่มทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย สมาชิกทุกคนมีสวนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแล้วสรุปหรือประมวลสาระที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน วิธีการนี้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในการเสนอข้อมูลหรือประสบการณ์ของตนเองเพื่อให้กลุ่มได้ข้อมูลมากขึ้น

วิธีการสอนที่สนับสนุนหลักการสอนแบบกระบวนการกลุ่มเหล่านี้ เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้การจัดประสบการณ์การสอนที่หลากหลายแลผู้สอนอาจใช้วิธีสอนอื่น ๆ ได้อีก โดยยึดหลักสำคัญ คือ การเลือกใช้วิธีการสอนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการสอนแต่ละครั้ง

8. การประเมินผลการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม   (ทิศนา แขมมณี และคณะ 2522) มีดังนี้

1. การให้ผู้เรียนประเมินผลการเรียนรู้ของตนเอง ซึ่งผู้สอนควรสนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองจะช่วยให้การเรียนรู้มีความหมายและมีประโยชน์ต่อผู้เรียนยิ่งขึ้น

2. การให้ผู้เรียนร่วมประเมินผลการเรียนรู้จากการทำงานร่วมกัน ซึ่งสามารถประเมินผลได้ 2 ลักษณะ คือ

1. การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกลุ่ม

2. การประเมินผลความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม

9. บทบาทของครูและนักเรียนในการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม

       บทบาทครู (คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักงาน 2540) มีดังนี้

1.มีความเป้ฯกันเอง มีความเห็นอกเห็นใจนักเรียน สร้างบรรยากาศที่ดีต่อการเรียน สนใจ ให้กำลังใจ สนทนา ไถ่ถาม

2.พูดน้อย และจะเป็นเพียง ผู้ประสานงาน แนะนำ ช่วยเหลือเมือนักเรียนต้องการเท่านั้น

3.ไม่ชี้นำหรือโน้มน้าวความคิดของนักเรียน

4.สนับสนุน ให้กำลังใจ กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นในการทำงานแสดงออกอย่างอิสระ และแสดงออกซึ่งความสามารถของนักเรียนแต่ละคน

5.สนับสนุนให้นักเรียนสมารถวิเคราะห์ สรุปผลการเรียนรู้และประเมินผลการกระทำงานให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้

อิทธิพลของทีมงานที่มีต่อพฤติกรรมของสมาชิก

อิทธิพลของทีมงานที่มีต่อพฤติกรรมของสมาชิก

การพัฒนาการทำงานเป็นทีมเพื่อให้มีประสิทธิภาพนั้น อาจมีปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลกระทบต่อพฤติกรรมของบุคคลที่เป็นสมาชิกของทีมงาน ซึ่งบางครั้งก็ทำให้เกิดผลดีบางครั้งก็อาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อการพัฒนาได้ ดังนี้
1. การเพิ่มพฤติกรรมและการยับยั้งพฤติกรรม (Social facilitation and social inhabitation) การเพิ่มพฤติกรรมเป็นปรากฏการณ์ที่บุคคลจะทำกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (Miller 1991 อ้างอยู่ในเปรมวดี คฤหเดช 2540 : 17)
2. บรรทัดฐานของพฤติกรรม (Norms of behavior) หมายถึง มาตรฐานซึ่งการทำงานเป็นกลุ่มนำมาใช้เพื่อประเมินพฤติกรรมของสมาชิก (Nelson and Quick 1997 : 253)
3. ความแน่นแฟ้นของกลุ่ม (Group cohesive) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลซึ่งทำให้สมาชิกของกลุ่มมีความผูกพันแน่นแฟ้น (Nelson and Quick 1997 : 253)
4. การออมแรงในสังคม (Social loafing) ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งในทีม ซึ่งจะเห็นได้เสมอ คือ การไม่ทำงานให้เต็มที่ตามแรงที่มีอยู่ (Baron & Byrne 1981 : 48 อ้างในเปรมวดี คฤหเดช 2540 : 18)
5. ความเป็นบุคคลหมดใจ (Deindividuation) หมายถึง สภาพของสมาชิกในทีมงาน ซึ่งเมื่ออยู่ในสภาวะหนึ่งจะมีความรู้สึกตัวน้อยลงกว่าปกติ ขาดความสามารถในการวิเคราะห์ (Ravan and Rubin 1976 : 306 อ้างในเปรมวดี คฤหเดช 2540 : 18)

ประเภทของทีมงาน

ประเภทของทีมงาน
          ร็อบบินส์ (Robbins 1996 : 348-351) จำแนกประเภทของทีมไว้ 3 ประเภท คือ
1. ทีมแก้ไขปัญหา (Problem-solving teams) เป็นทีมที่ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 5-12 คนจากแผนกงานเดียวกัน ซึ่งพบปะกันสัปดาห์ละ 2-3 ชั่วโมง เพื่ออภิปรายร่วมกันหาวิธีการหรือหนทางที่จะปรับปรุงคุณภาพ ประสิทธิผล และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
2. ทีมบริหารตนเอง (Self-managed work teams) ในขณะที่ทีมแก้ไขปัญหาเป็นการระดมความคิดจากคนในแผนกเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้องที่ควรกระทำ แต่วิธีการเช่นนี้สมาชิกไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการตัดสินใจ
3. ทีมที่ต่างหน้าที่กัน (Cross-functional team) หมายถึง ทีมงานที่ประกอบด้วยพนักงานที่อยู่ในสายการบังคับบัญชาเดียวกัน แต่มาจากแผนกงานต่างกันมาร่วมมือกันปฏิบัติงานเพื่อทำให้งานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2530 : 303-306) กล่าวถึงประเภทของทีมงานว่าแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 ทีมงานภายใน (Intradisciplinary team) เป็นทีมงานในองค์การประกอบด้วยสมาชิกที่อยู่ในวิชาชีพเดียวกันหรือสาขาเดียวกัน แต่มีความแตกต่างในระดับความรู้ ทักษะการปฏิบัติงาน และความสามารถที่จะรับผิดชอบงาน
ประเภทที่ 2 ทีมระหว่างหน่วยงาน (Interdisciplinary team) เป็นการรวมกันของบุคคลต่างวิชาชีพ หรือต่างหน่วยงาน
ประเภทที่ 3 ทีมระหว่างองค์การ (Intersectoral team) เป็นทีมงานที่เกิดจากการจัดให้มีการรวมกันของบุคคลต่างอาชีพหรือต่างหน่วยงานมาทำงานร่วมกัน
ดาฟท์ (Daft 1995 : 475-480) กล่าวถึง ประเภทของทีมว่าเกิดขึ้นมากมายในองค์การ วิธีการจำแนกของทีมที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่งคือการกำหนดทีมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์การที่เป็นทางการ และกำหนดการเข้ามามีส่วนร่วมที่เพิ่มขึ้น
มอร์แมน (Mohrman อ้างใน Greenberg and Baron 1995 : 299) ได้แบ่งประเภทของทีมงานโดยกำหนดประเด็นในการจำแนกประเภทของทีมงานไว้ดังนี้
1. จำแนกประเภทโดยอาศัยวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายหลักขององค์การ ทำให้เกิดทีมงานเป็น 2 ประเภท คือ
ก. การทำงานเป็นทีม (Workteams) โดยพื้นฐานแล้วมีความเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในองค์การ เช่น การพัฒนาและผลิตสินค้าใหม่ จัดบริการสำหรับลูกค้า
ข. ทีมงานปรับปรุง (Improvement teams) เป็นทีมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานขององค์การให้ดีขึ้นกว่าเดิม
2. จำแนกประเภทโดยอาศัยเรื่องเวลา ทำให้เกิดประเภทของทีมเป็น 2 ประเภท คือ
ก. ทีมชั่วคราว (Temporary teams) เป็นการจัดตั้งทีมงานที่มีลักษณะพิเศษตรงที่เน้นความรับผิดชอบที่มีต่อโครงการหรืองานเพียงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น
ข. ทีมงานถาวร (Permanent teams) เป็นทีมงานที่มีการจัดตั้งพร้อม ๆ กับการก่อตั้งองค์การ
3. จำแนกประเภทโดยอาศัยโครงสร้างอำนาจหน้าที่ขององค์การเป็นหลัก ทำให้เกิดทีมเป็น 2 ประเภท คือ
ก. ทีมงานที่เกิดจากความรับผิดชอบต่องานอย่างเป็นทางการ
ข. ทีมงานที่เกิดจากการปฏิบัติงานร่วมกัน โดยไม่มีการแบ่งงานตามความรับผิดชอบ
เฮยส์ (Hays 1997 : 5-8) กล่าวถึง ประเภทของทีมงานไว้ดังนี้ คือ
1. ทีมงานการผลิตหรือการบริการ (Production or service teams) เป็นรูปแบบของทีมที่ธรรมดาที่สุด ทีมงานประเภทนี้ประกอบด้วยพนักงานที่ทำงานเต็มเวลาซึ่งบางครั้งอาจมีงานให้ทำเป็นเวลาหลาย ๆ ปี ทีมมีการบริหารงานด้วยตนเอง
2. ทีมปฏิบัติงาน ทมเจรจา (Action/Negotiation teams) เป็นทีมงานที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีทักษะมารวมกันเพื่อทำปฏิบัติงานเฉพาะเจาะจง โดยแต่ละคนเข้าใจถ่องแท้ถึงบทบาทของตนเอง
3. ทีมโครงการ หรือทีมพัฒนา (Project or development teams) หมายถึง ทีมที่มุ่งพัฒนาผลผลิต เป็นทีมที่มีแนวโน้มจะปฏิบัติงานโดยใช้ระยะเวลานาน
4. ทีมให้คำปรึกษา แนะนำ (Advice and involvement teams) เป็นทีมที่เกี่ยวข้องกับการให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา และตัดสินใจ
วู๊ดค็อก (Woodcock 1989 : 4-5) กล่าวถึงประเภทของทีมไว้ดังนี้ คือ
1. ทีมสุดยอด (Top teams) คือ ทีมที่กำหนดวัตถุประสงค์ และพัฒนายุทธศาสตร์ขององค์การ
2. ทีมบริหาร (Management teams) หมายถึง ทีมที่มีการกำหนดวัตถุประสงค์ย่อยในการปฏิบัติงานมากขึ้น
3. ทีมปฏิบัติงาน (Operator teams) หมายถึง ทีมที่ประกอบด้วยบุคคลซึ่งปฏิบัติงานพื้นฐานขององค์การ เป็นผู้เปลี่ยนปัจจัยนำเข้าให้เป็นปัจจัยนำออก
4. ทีมเทคนิค (Technical teams) เป็นทีมที่ประกอบด้วยบุคคลที่กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานในองค์การ
5. ทีมสนับสนุน (Support teams) เป็นทีมที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากการทำงานประจำและเป็นทีมที่อยู่นอกเหนือสายงานขององค์การ

แนวคิดที่มีต่อการศึกษาปฐมวัยปัจจุบัน

นโยบายการศึกษาไทยในปัจจุบัน
จากนโยบายของการจัดการศึกษาของประเทศ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและมีผลต่อการปฏิบัติใน 2 ประเด็นหลัก คือ ด้านปรัชญาการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษา โดยมีสาระดังนี้
1. ปรัชญาการศึกษา ในอดีตนั้นการจัดการศึกษาได้นำปรัชญาการศึกษาของประเทศตะวันตกมาเป็นแนวทางในการกำหนดเป็นปรัชญาการศึกษาของชาติเนื่องจากเป็นระยะแรกของการจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบของไทย ได้มีการส่งนักศึกษาไปศึกษายังต่างประเทศ และท่านเหล่านั้นได้นำปรัชญาและแนวทางการจัดการศึกษามาเป็นพื้นฐานในการจัดการศึกษาของประเทศ
ปรัชญาการศึกษา หมายถึง แนวความคิดพื้นฐานและความคาดหวังในประเด็นที่เกี่ยวกับการศึกษา เช่น เรื่องลักษณะของสังคม ลักษณะของคนและการศึกษาที่พึงปราถนาในฐานะที่เป็นหลักการและเป้าหมายของการจัดการศึกษา
สรุป ปรัชญาการศึกษาของไทย เป็นการจัดการศึกษาในระบบเปิดที่ข้อจำกัดในความแตกต่างด้านเพศ วัย สาขาวิชา ฐานะทางสังคม เศรษฐกิจ ความเชื่อทางศาสนาถิ่นที่อยู่ไม่มีอุปสรรคต่อการศึกษาตลอดชีวิต

2. การปฏิรูปการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
             พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ คือ ได้ว่าเป็นกฎหมายแม่บทในการจัดการศึกษาของประเทศ ทำให้เกิดการปฎิรูปการศึกษาสาระหลักดังนี้
2.1 ด้านความเสมอภาคทางโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการจัดการศึกษาให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการเข้ารับบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้อย่างทั่วถึง
2.2 ด้านคุณภาพมาตราฐานการศึกษา มีการพัฒนาคุณภาพมาตราฐานและจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
2.3 ด้านระบบบริหารและการสนับสนุนทางการศึกษา โดยปฎิรูประบบบริหารและการจัดการทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2.4 ด้านครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ให้ปฏิรูประบบ กระบวนการผลิตการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและการพัฒนาครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
2.5 ด้านหลักสูตร โดยปฏิรูปหลักสูตรให้มีความต่อเนื่องเชื่อมโยง มีความสมดุลในเนื้อหาทั้งสาระที่เป็นวิชาการ วิชาชีพ และวิชาที่ว่าด้วยการเป็นมนุษย์
2.6 ด้านกระบวนการเรียนรู้ ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
2.7 ด้านทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
2.8 ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาขึ้นโดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต

หลักการทำงาานเป็น Team Work

หลักการทำงานเป็นกลุ่ม หรือ Team Work ตามหลักทฤษฎีของ ดักส์ลาสซ์ แมกเกรเกอร์
ได้กล่าวใว้มี 11 ข้อดังนี้
1. เป็นบรรยากาศที่คนทำงานมีความเกี่ยวข้องและสนใจไม่มีท่าทีของความเบื่อหน่ายท้อแท้เกิดขึ้นในการทำงาน
2. มีการอภิปรายกันอย่างเปิดเผย เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของแต่ละคน
3. งานหรือวัตถุประสงค์ของกลุ่มเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งจากทุกคนและได้รับการยอมรับจากบรรดาสมาชิก มีความอิสระเสรีในการอภิปรายปัญหาในประเด็นต่างๆจนในที่สุดอาจจะออกมาในด้านที่ทุกคนยอมรับและมีความผูกพันที่จะปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ
4. บรรดาสมาชิกในกลุ่มยอมรับฟังเหตุผลของกันและกัน มีการรับฟังปัญหาต่างๆ ทุกคนไม่หลัวจะถูกหาว่าโง่ในการแสดงความคิดเห็นออกมา โดยเฉพาะความคิดริเริ่มและต้องสร้างสรรค์ต่อกลุ่ม
5. แม้จะมีความขัดแย้งก็ไม่คิดหลบหนี หลีกเลี่ยง เพื่อปิดบังอำพรางการไม่ตกลงกัน ไม่มีการบีบบังคับกันและกัน
6. มีการตัดสินใจโดยความเห็นร่วมกันส่วนใหญ่ซึ่งทุกคนเห็นด้วยว่าไปด้วยกันได้
7. การวิจารณ์เป็นไปอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ไม่มีการมุ่งโจมตีกันเป็นการส่วนตัว ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
8. ทุกคนมีอิสระเสรีในการแสดงความรู้สึกและแนวคิดในการที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ทั้งปัญหาส่วนบุคคลและการทำงานของกลุ่ม ทุกคนเข้าใจความรู้สึกของกันและกันในประเด็นต่างๆที่ถกเถียงกัน
9. เมื่อมีความจำเป็นในการปฏิบัติงาน การมอบหมายการทำงานได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีจากบุคคลที่เกี่ยงข้อง
10. ประธานของกลุ่มไม่ใช้อิทธิพลหรืออำนาจส่วนตัวเหนือสมาชิกของกลุ่ม หรือ กลุ่มก็ไม่ได้ใช้อิทธิพลเหนือประธานของกลุ่มเช่นกันแต่ภาวะผู้นำเปลี่ยนไปทุกขณะแล้วแต่สถานการณ์
11. กลุ่มมีอิสรภาพในการทำงานของเขาเอง จะมีการตรวจสอบผลงานของตนเองเป็นระยะๆว่า จะทำงานให้ดีขึ้นได้อย่างไร

ความหมายของนิทาน

เกริก ยุ้นพันธ์ (2539:8) ได้ให้ความหมายว่า นิทาน หมายถึง เรื่องราวที่สืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณเป็นการผูกเรื่องขึ้น เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนุกสนาน ตลอดจนแทรกแนวคิดเพื่อให้เด็กนำไปเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต
กุลยา ตันติผลาชีวะ (2541:2-10) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นิทาน คือ สิ่งที่มีประสิทธิภาพสำหรับการเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย ไม่มีเด็กคนใดไม่ชอบฟังนิทาน นิทานสามารถสร้างจินตนาการ ความฝัน ความคิด ความเข้าใจและการรับรู้ให้กับเด็ก
สรุปได้ว่า นิทาน หมายถึง เรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาหรือมีผู้แต่งขึ้นเพื่อให้ผู้ฟังได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน และสามารถนำความคิดไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย

ความหมายและความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย
1. ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย

นวัตกรรม เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ โดยในอดีตใช้คำว่า นวกรรม ซึ่งเป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษว่า “Innovation” หมายถึง สิ่งใหม่หรือการเปลี่ยนแปลง คำว่า นวัตกรรม จึงมีนักการศึกษาบางกลุ่มใช้คำว่า นวกรรม ดังนั้น คำว่านวกรรมและนวัตกรรมทั้งสองคำนี้จึงใช้ในความหมายเดียวกัน คือ การกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลียนแปลงเพื่อจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษา
ดังนั้น นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย จึงหมายถึง การนำแนวคิดและวิธีการหรือการกระทำใหม่ ๆ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ทางการศึกษาปฐมวัยมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยให้ดียิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน

                 2. ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย
            การจัดการศึกษาปฐมวัยจึงให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยมุ่งจัดประสบการณ์ตามความถนัด ความสนใจ และความสามารถของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ เพื่อพัฒนาให้เด็กมีความพร้อมในการเรียน

การประเมินพัฒนาการ

การประเมินพัฒนาการ

การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยเป็นกระบวนการต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปติตามตารางกิจกรรมประจำวันและครอบคลุมพัฒนาการของเด็กทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา เพื่อนำผลมาใช้ในการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ พัฒนาเด็กให้เต็มตามศักยภาพของแตละคน การประเมินพัฒนาการอาจทำได้หลานวิธี แต่วิธีที่ง่ายต่อการปฏิบัติและนิยมใช้กันมาก คือ การสังเกต ซึ่งต้องทำอย่างต่อเนื่องและบันทึกไว้เป็นหลักฐานอย่างสม่ำเสมอ  ผู้สอนหรือผู้เกี่ยวข้องกับเด็กต้องคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้

1 หลักการประเมินพัฒนาการของเด็ก

  • ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้านและนำผลมาพัฒนาเด็ก
  • ประเมินผลเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี
  • สภาพการประเมินควรมีลักษณะเช่นเดียวกับการปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน
  • ประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผน เลือกใช้เครื่องมือและจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
  • ประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลายเหมาะกับเด็ก

2 ขั้นตอนการประเมินพัฒนาการ

  • ศึกษาและทำความเข้าใจพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงอายุทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา
  • วางแผนเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับใช้บันทึกและประเมินพัฒนาการ เช่น แบบบันทึกพฤติกรรมเหมาะที่จะใช้บันทึกพฤติกรรมของเด็ก การบันทึกรายวันเหมาะกับการบันทึกกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนทุกวัน เป็นต้น
  • ดำเนินการประเมินและบันทึกพัฒนาการ หลังจากที่ได้วางแผนและเลือกเครื่องมือที่จะใช้ประเมินและบันทึกพัฒนาการแล้ว จะต้องอ่านคู่มือหรือคำอธิบายวิธีการใช้เครื่องมือนั้น ๆ อย่างละเอียด แล้วจึงดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
  • ประเมินและสรุป การประเมินและสรุปนั้นต้องดูจากผลการประเมินหลาย ๆ ครั้งมิใช่เพียงครั้งเดียว หรือนำเอาผลจากการประเมินเพียงครั้งเดียวมาสรุป อาจทำให้ผิดพลาดได้
  • รายงานผล เมื่อได้ผลจากการประเมินและสรุปพัฒนาการของเด็กแล้ว ผู้สอนจะต้องตัดสินใจว่าจะต้องรายงานข้อมูลไปยังผู้ใด เพื่อจุดประสงค์อะไร และจะต้องใช้ในรูปแบบใดสำหรับรายงาน เช่น ต้องรายงานผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง เพื่อให้ทราบว่ากิจกรรมหรือประสบการณ์ที่สถานศึกษาจัดให้เด็กนั้นส่งเสริมพัฒนาเด็กแต่ละคนอย่างไรเป็นไปตามจุดประสงค์หรือไม่ เพื่อจะได้วางแผนช่วยเหลือเด็กได้ตรงตามความต้องการต่อไป
  • การให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมิน

การทำงานเป็นทีม

การทำงานเป็นทีม หมายถึง การร่วมกันทำงานของสมาชิกที่มากกว่า 1 คน โดยที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันจะทำอะไรแล้วทุกคนต้องยอมรับร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน
การทำงานร่วมกันเป็นทีมนั้นนับว่ามีความสำคัญยิ่ง กล่าวคือ ทีมเป็นแหล่งรวมความรู้ ความสามารถของบุคคลต่าง ๆ เข้าร่วมกันแก้ปัญหา สมาชิกภายในทีมมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นและมีสาวนร่วมในการบริหารงาน มีความรักและความเชื่อมั่นในความมั่นคงของโรงเรียน พร้อมที่จะอุทิศและทุ่มเทพลังความสามารถทั้งกายและใจให้กับหน่วยงาน

การบริหารจัดการในชั้นเรียน ศตวรรษที่21

การบริหารจัดการในชั้นเรียน 
การบริหารจัดการในชั้นเรียน เป็นการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เทคโนโลยีและด้านภาษามากขึ้น เน้นบรรยากาศในชั้นเรียน คือ การให้อิสระทางความคิดของผู้เรียนให้ผู้เรียนได้คิดและได้แสดงความคิดเห็นของตัวเองอย่างเต็มที่และพัฒนาคนให้สมดุลทั้งด้านร่างกาย  สติปัญญา  จิตใจและสังคม  โดยจัดการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา จัดในรูปแบบที่หลากหลาย  เพื่อสนองความต้องการ  ความสามารถและความถนัดของผู้เรียน